Skip to content

Latest commit

 

History

History
97 lines (64 loc) · 4.39 KB

0008-http-transfer-encoding-chunked.md

File metadata and controls

97 lines (64 loc) · 4.39 KB

Transfer-Encoding: chunked ใน HTTP คืออะไร

เวลาที่เราส่ง HTTP Request ไป เราจะต้องรู้ว่า content ที่เราจะส่งมีขนาดเท่าไร ไม่อย่างนั้น server ปลายทางจะไม่รู้ว่าเมื่อไรจบ 1 request

เพราะว่าปกติแล้ว เราจะ reuse connection กัน, 1 connection รับ/ส่ง กันหลาย HTTP requests

เช่น

POST / HTTP/1.1
Host: example.com
Accept: */*
Content-Type: text/plain
Content-Length: 4

textPOST / HTTP/1.1
Host: example.com
Accept: */*
Content-Type: application/json
Content-Length: 15

{"name":"test"}GET / HTTP/1.1
Host: example.com
Accept: */*

เห็นไหมว่า ถ้าเราไม่ส่ง Content-Length ไป server ปลายทางจะรู้ได้ยังไงว่ามันจบ 1 request แล้ว ?

แล้วถ้าเราไม่รู้หล่ะ ว่า content มันขนาดเท่าไร ?

ใน HTTP/1.1 มี header ตัวนึงสำหรับ stream data คือ

Transfer-Encoding: chunked

ใน HTTP/2 ไม่ support chunked เพราะมีวิธี stream data ที่ดีกว่า

โดยปกติถ้าเราไม่ได้ส่ง Transfer-Encoding ไปใน header, เราจะรู้กันว่ามันคือ

Transfer-Encoding: identity

Chunked Transfer Encoding ทำงานยังไง

หลักการทำงานของ chunked transfer encoding ก็คือ

ส่งจำนวน bytes ที่จะส่งแต่ละครั้ง ตามด้วย \r\n ตามด้วย data และตามด้วย \r\n ถ้าต้องการจบ stream ก็แค่บอกว่าจะส่ง chunked 0 byte

เช่น

\r\n คือการขึ้นบรรทัดใหม่ เพราะฉะนั้นในตัวอย่างจะใช้การขึ้นบรรทัดใหม่แทน \r\n

POST / HTTP/1.1
Host: example.com
Accept: */*
Content-Type: text/plain
Transfer-Encoding: chunked

4
test
5
hello
15
acoshift's blog
0


ถ้าเราใช้ \r\n แทนการขึ้นบรรทัดใหม่ เราจะได้

4\r\ntest\r\n5\r\nhello\r\n15\r\nacoshift's blog\r\n0\r\n\r\n

ข้อเสียของการใช้ chunked transfer encoding

คือ ไม่รู้ว่า content ขนาดเท่าไร

ตัวอย่าง ถ้าเราทำ api ให้ upload ไฟล์ แต่อยากจะ limit แค่ 100 MiB ถ้า client ส่ง Content-Length มา เรารู้ทันทีว่าไฟล์ขนาดเท่าไร ถ้าเกิน 100 MiB สามารถตอบได้ทันทีว่า Bad Request หรือ Payload Too Large อะไรก็ว่าไป

แต่พอเป็น chunked transfer encoding แล้ว server จะต้องอ่าน content มาก่อน 100 MiB ถึงจะรู้ว่าขนาดมันเกิน

คำถามคือ แล้ว 100 MiB นี่อยู่ที่ไหน ?

ถ้า implement ง่าย ๆ ก็เก็บไว้ในตัวแปรสิ... โดนยิงพร้อม ๆ กัน แน่นอน server ram เต็มแน่ ๆ

ถ้าให้ดีหน่อยก็อาจจะเก็บลง disk ไปก่อน แต่ก็จะ implement ยากขึ้นมา เพราะถ้า body เล็กมาก ๆ เช่น json ไม่กี่ byte แล้วเราต้องเก็บลงไฟล์ เว็บเราจะช้าลงขนาดไหน ?

แต่ถ้าอยากให้เร็ว ๆ และไม่ให้โดนยิงร่วง ก็จะต้องมี buffer ที่รองรับไฟล์เล็ก ๆ เช่น json ถ้าเก็บเกิน buffer ก็ค่อยเอาลง disk แน่นอนว่า implement ยากแน่ ๆ